Share




ชื่อวิทยาศาสตร์

Scientific name

Aegle marmelos (L.) Corrêa
ชื่อวงศ์

Family name

RUTACEAE
ชื่อพื้นเมือง

Local name

มะตูม Matuum (Central,Peninsular);กะทันตาเถร Kathan taa then, ตุ่มตัง Tum tang, ตูม Tuum (Pattani); พะโนงค์ Pha-nong (Khamer) ; มะปิน Ma pin (Northern): มะปิส่า Ma-pee-saa (Karen-Mae Hong Son)
ชื่อสามัญ

Common name

Bael Fruit Tree, Bengal Quince, Bilak
ส่วนที่นำมาใช้

Plant part used

(Le) Leaf
การใช้ประโยชน์

Uses and Ultilizing

ราก ต้มดื่มแก้ร้อนใน ผล ต้มดื่มเป็นยาแก้ร้อนใน ต้มกินแก้ท้องอืด แก้ไอ ขับลม ไล่เลือดลม แก้ไข้ แก้เบาหวาน ผสมเหมือดโลดปั้นทำลูกกลอนกินเป็นยาแก้ริดสิดวงทวาร ต้มดื่มเป็นยาแก้หวัด เปลือกผล ย่างไฟกินแก้ตัวร้อน ทั้งต้น ต้มดื่มบำรุงกำลัง แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ดอก ต้มดื่มแก้ร้อนใน (2) ใบ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร แก้โรคลำไส้ คั้นน้ำกินแก้หลอดลมอักเสบ
ข้อควรระวัง

Caution

-
ฤดูติดดอก ออกผล

Flowering & Fruiting Season

-
ลักษณะ

Habit

ต้น ไม้ต้น สูง 10-15 ม. กิ่งก้านมีหนาม แหลม ยาวประมาณ 2.5 ซ.ม. ใบ ออกเป็นใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ รูปไข่ ปลายแหลม พื้นผิวเรียบเกลี้ยง ขอบใบหยัก ดอก ออกเป็นช่อ ที่ซอกใบที่ปลายกิ่ง มีกลิ่นหอม สีขาวบริสุทธิ์ ผล เมื่อสดเนื้อในมีสีเหลือง มีน้ำเมือก รูปกลมรี หรือรียาว ผิวเปลือกแข็ง หนาดเส้นผ่า ศก. ยาว 2.5-4 นิ้ว ยาว 4-5.5 นิ้ว เมื่อผลแก่หรือสุกเต็มที่สีเปลือกจะ เปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลือง ภายในมีเมล็ด จำนวนมาก
พื้นที่ที่พบในสวนฯ

Display area (QSBG)

การกระจายพันธุ์

Distribution

India-SE.Asia
หมายเหตุ

Remark

น้ำยาง เมื่อผลสุกจะมียางเหนียวใส สามารถ นำมาเป็นกาวแทนกาว ทั่วไปได้
เอกสารอ้างอิง

Reference(s)

(2) รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2555 โครงการพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคเหนือตอนบน อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน, สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 1 สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ 38)
QR code