Share
ไม่พบรูปภาพ
ชื่อวิทยาศาสตร์

Scientific name

Kalanchoe pinnata (Lam.) Pers.
ชื่อวงศ์

Family name

CRASSULACEAE
ชื่อพื้นเมือง

Local name

คว่ำตายหงายเป็น Khwam taai ngaai pen (Chon Buri, Peninsular); กระลำเพาะ Kralam phoh, ต้นตายใบเป็น Ton taai baai pen, นิรพัตร Nira phat, เบญจฉัตร Benchachat (Central); กะเร Ka re, กาลำ Kaalam (Trat); แข็งโพะ Khaeng pho, โพะเพะ Pho pheh (Nakhon Ratchasima); ต้นตายปลายเป็น Ton taai plaai pen (Chanthaburi); ตาละ Taa-la (Malay-Yala); ปะเตียลเพลิง Pa-tian phloeng (Khmer-Chanthaburi); เพรอะแพระ Phroe phrae (Prachuap Khiri Khan); มะตบ Ma top, ล็อบแล็บ Lop laep, ลุบลับ Lup lap, ลุมลัง Lum lang (Northern); ยาเท้า Yaa thao (Norheastern); ส้มเช้า Som chao (Prachuap Khiri Khan, Surat Thani, Trang)
ชื่อสามัญ

Common name

-
ส่วนที่นำมาใช้

Plant part used

(Le) Leaf
การใช้ประโยชน์

Uses and Ultilizing

ใบ แก้อักเสบ พอกฝี แก้ปวด ฟกบวม แก้เคล็ดขัดยอก แพลง แก้กล้ามเนื้ออักเสบ
ข้อควรระวัง

Caution

ฤดูติดดอก ออกผล

Flowering & Fruiting Season

ลักษณะ

Habit

ต้น เป็นไม้ล้มลุก สูง 1 ม.อวบน้ำ ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านมากนัก เมื่อยังอ่อนตามข้อจะบวมมีสีเขียวและมีจุดสีม่วงแต้ม ใบ ใบเดี่ยว ขอบใบหยัก รูปรีแกมรุปไข่ กว้าง 2.5-5 ซ.ม. ยาว 5-20 ซ.ม. โคนและ ปลายใบมน เนื้อใบหนา อวบ ตรงขอบใบมีสีม่วง ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด กลีบรองดอก แยกเป็นแฉก กลีบดอกสีแดง เป็นหลอด ผล เมื่อแก่จัดจะแห้งและแตกด้านข้าง เมล็ดรูปขอบขนานแกมรี มีขนาดเล็ก
พื้นที่ที่พบในสวนฯ

Display area (QSBG)

มีในสวน
การกระจายพันธุ์

Distribution

ขึ้นในดินที่ระดับความสูง 0-1000 ม. จากระดับน้ำทะเล
หมายเหตุ

Remark

ใบ เอามาเผาไฟเล็กน้อย หรือเอาหัวมาตำ ใช้รักษาบาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือ ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อ ใช้รักษาตาปลา ใช้พอกฝี นำน้ำที่คั้นได้จากใบใช้รักษาอาการ ท้องร่วง นิ่ว บิด อหิวาตกโรค เป็นยาขับปัสสาวะ ปวด ท้อง รักษาโรคไขข้ออักเสบ โรคหิด และ ขี้เรื้อน ใบ ใช้3 ต้มกินน้ำหลังคลอดแก้อาการผิดเดือน(บ้านม้งหนองหอย แม่แรม ชม.)
เอกสารอ้างอิง

Reference(s)

สมุนไพรพื้นบ้านล้านนา (136);สมุนไพรไม้พื้นบ้าน เล่ม 2 (47)
QR code