ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บไซด์การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการทางพฤกษศาสตร์!!

ภาษา:

หลักสูตร

นักพฤกษศาสตร์ท้องถิ่น

Parataxonomist


รายละเอียด

ดาวน์โหลด

กำหนดการ

ดาวน์โหลด

ระยะเวลาดำเนินการ

15-19 กุมภาพันธ์ 2559

วันสิ้นสุดการรับสมัคร

8/2/2559 (ดูรายชื่อผู้สมัคร/view registered mebers)


หลักการและเหตุผล

                    ประเทศไทยตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าเขตร้อน มีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ที่สลับซับซ้อน  มีต้นทุนทางธรรมชาติที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม มีการใช้ประโยชน์จากพืชเป็นอาหาร ยารักษาโรค สั่งสมเป็นภูมิปัญญาหรือองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรพืชสืบต่อกันมา ในขณะที่สังคมสมัยใหม่เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ มีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม วิถีการดำเนินชีวิต ทำให้พืชและภูมิปัญญาท้องถิ่นสูญหายไปกับการพัฒนาสังคมเมืองซึ่งเมืองมีการขยายตัวเป็นลำดับ พื้นที่เมืองรุกคืบเข้าไปในเขตเกษตรกรรม เป็นเหตุให้พืชพรรณในสภาพธรรมชาติถูกคุกคาม หากยังรักษาป่าแหล่งอาศัยของพืชไว้ไม่ได้หรือไม่มีแนวทางการใช้ประโยชน์ พรรณพืชเหล่านี้อาจสูญพันธุ์ไปในที่สุด

                    องค์การสวนพฤกษศาสตร์ ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรทางพันธุกรรมพืชท้องถิ่นและการรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น สนับสนุนให้มีองค์ความรู้และการสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อคุ้มครองฐานทรัพยากรพืช ได้จัดให้มีการอบรม นักพฤกษศาสตร์ท้องถิ่นแก่บุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านพฤกษศาสตร์และปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับชุมชนท้องถิ่นขึ้นเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ ตลอดจนแลกเปลี่ยน เรียนรู้การสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนรวมถึงร่วมกันพัฒนางานด้านพฤกษศาสตร์ของประเทศให้เกิดความต่อเนื่องต่อไป  

วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ความรู้เบื้องต้นทางด้านพฤกษศาสตร์ในหลายสาขา สำหรับการนำไปประยุกต์ใช้และศึกษาวิชาการพืชขั้นสูงต่อไป
2) เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรพืชและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
3) เพื่อสร้างโอกาสการแลกเปลี่ยนความรู้ของผู้สนใจและนักวิชาการด้านพฤกษศาสตร์

เนื้อหาการอบรม

ภาคทฤษฎี  หัวข้อการให้ความรู้ มีดังนี้
 1) บทบาทของสวนพฤกษศาสตร์
 2) สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
 3) สวนพฤกษศาสตร์ในต่างประเทศ
 4) อนุกรมวิธานพืชเบื้องต้นและลักษณะพืช
 5) การอนุรักษ์หิ่งห้อย
 6) หลักการอนุรักษ์และฟื้นฟูกล้วยไม้
 7) การใช้ประโยชน์จากพืช
 8) พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน
 9) ความสำคัญของการเก็บตัวอย่างพรรณไม้และพิพิธภัณฑ์พืช
 10) การขยายพันธุ์พืชเบื้องต้น
 11) พฤกษเคมี
 
ภาคปฏิบัติ ประกอบด้วยกิจกรรม
 1) การสำรวจพรรณไม้และป่าในเมืองไทย ในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ
 2) ศึกษาความหลากหลายพรรณไม้ในสวนพฤกษศาสตร์
 3) กิจกรรมการใช้ประโยชน์จากพืช
 4) ศึกษา ดูงานพรรณพืชกลุ่มอาคารเรือนกระจกเฉลิมพระเกียรติ ทางเดินธรรมชาติเหนือเรือนยอดไม้ (Canopy Walkway) หอพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ หมู่บ้านฟ้ามุ่ย และอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ 
 5) กิจกรรมการขยายพันธุ์พืช
 6) กิจกรรมพฤกษเคมี

กลุ่มเป้าหมาย

ครู อาจารย์ นักศึกษา หมอยา และผู้สนใจทางด้านพฤกษศาสตร์ จำนวน 50 คน

คุณสมบัติผู้สมัคร

บุคคลทั่วไป อายุไม่เกิน 60 ปี ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และไม่มีโรคประจำตัวร้ายแรง

สิ่งที่ต้องเตรียมมา

1) ยารักษาโรคประจำตัว
2) ของใช้ส่วนตัว เช่น สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ผ้าเช็ดตัวเป็นต้น 
3) อุปกรณ์ป้องกันแดด/ป้องกันฝน เช่นหมวก ร่ม เสื้อกันฝน แว่นตากันแดด เสื้อคลุมกันแดด เป็นต้น 
4) รองเท้าสำหรับเดินศึกษาภาคสนาม

สถานที่ดำเนินการ

1) สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
2) อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ 
3) บ้านปงไคร้ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

วิทยากรผู้ให้ความรู้

1) นักวิชาการ องค์การสวนพฤกษศาสตร์
2) วิทยากรภาคสนาม อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

หน่วยงานรับผิดชอบ

งานเผยแพร่ความรู้ ส่วนพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ ศูนย์วิจัยและพัฒนาสง่า สรรพศรี

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 1) องค์การสวนพฤกษศาสตร์เป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้ด้านพืชและความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
 2) เกิดการรวมกลุ่มผู้สนใจงานด้านพฤกษศาสตร์ให้เกิดการขยายงานด้านการศึกษาความหลากหลาย การใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์พรรณพืช รวมถึงการรวบรวมพันธุกรรม พืชสมุนไพรและพืชเศรษฐกิจในชุมชนท้องถิ่น เกิดแนวทางต่อยอดภูมิปัญญาพื้นบ้าน การกระจายพันธุ์ สามารถนำข้อมูลไปประยุกต์ในการศึกษา วิจัยพืชขั้นสูงต่อไป

หมายเหตุ
* ทุกหลักสูตรไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
** ขอสงวนสิทธิ์ในการลงทะเบียน หากได้ผู้เข้าร่วมอบรมครบตามจำนวนที่กำหนดครบแล้ว
** ขอสงวนสิทธิ์ในการมอบใบประกาศนียบัตร หากผู้เข้าร่วมอบรมไม่สามารถรับการอบรมได้ครบตามชั่วโมงที่กำหนด
**รับสมัครหน่วยงาน/สถาบันละไม่เกิน 5 คน ต่อหลักสูตร

 พิพิทภัณฑ์ธรรมชาติ

Museum

พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติและพิพิธภัณฑ์แมลง เป็นสถานที่เก็บรวบรวมและแสดงสิ่งของ วัตถุ หรือ...

  สืบค้นต่อ >

 ห้องสมุด สง่า สรรพศรี

Library

ห้องสมุดทางพฤกษศาสตร์ สง่า สรรพศรี ให้บริการด้านการยืม – คืน หนังสือ และ...

  สืบค้นต่อ >

 บทความขององค์การ

Articles

บทความต่างๆ ขององค์การสวนพฤกษศาสตร์เป็นภาพสะท้อนถึงความตื่นตัวทางวิชาการ...

  สืบค้นต่อ >
: : The Botanical Garden Organization, Ministry of Natural Resources and Environment, Thailand : :
All rights reserved
^ Back to Top