เผยแพร่เมื่อ/created date: 29 Jul 2012

มหาอุดมแดง

Curcuma pierreana Gagnep.
-
ZINGIBERACEAE
หัวมีรูปไข่ ขนาด 2 x 1 ซม. ภายในมีสีน้ำตาลอ่อน เหง้าสั้นมาก ลำต้นเหนือดินสูง 25-50 ซม. แผ่นใบรูปไข่แกมรีหรือรูปไข่แกมขอบขนาน ขนาด 20-25 x 3.5-7.0 ซม. ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนสั้นคลุมแน่น ฐานใบสอบเรียว ปลายใบเรียวแหลม มีสีเขียว ด้านหลังใบตามแนวเส้นกลางใบมีสีแดงแกมน้ำตาล ช่อดอกออกกลางลำต้น ก้านช่อมีขนละเอียดคลุมแน่น ยาว 2.5-5.0 ซม. ส่วนช่อดอกยาวประมาณ 4.5ซม. ใบประดับ รูปไข่ ปลายมน มีสีขาวเรื่อสีเหลือง มีขนนุ่มประปราย กลีบดอกมีสีขาว สเตมิโนดรูปไข่กลับ ปลายมน สีขาว ปลายแต้มสีแดงอมม่วง กลีบปากรูปไข่กลับ ปลายมน แยกลึกเป็น 2 พู สีขาว และมีแถบสีเหลืองทาบตามแนวเส้นกลางแผ่น มีขนสั้นประปรายตามแนวนี้ด้วย เดือยอับเรณู ยาวประมาณ 1 มม. เป็นเส้นบาง ปลายโค้งเข้าด้านใน รังไข่ค่อนข้างกลม ยาวประมาณ 3 มม. ผิวมีขนนุ่ม
การกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา พบที่ภาคตะวันออก ขึ้นในป่าผลัดใบ ทีระดับความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 550 ม. ออกดอกเดือน กรกฎาคม-สิงหาคม ต่างประเทศพบที่ประเทศเวียตนาม
เป็นพืชที่ยังไม่รู้จักกันมากนัก มีดอกที่สวยงามสามารถนำมาพัฒนาเป็นไม้ประดับได้

หนังสือพืชสกุลขมิ้นในประเทศไทย

-

4983 views

แสดงความเห็นและอภิปราย/discuss

   

Your E-mail:

Your Name: