เผยแพร่เมื่อ/created date: 9 Dec 2021

กาตาฉ่อ

Phalaenopsis deliciosa Rchb.f.
Kingidium deliciosum (Rchb.f.) H.R.Sweet; Doritis deliciosa (Rchb.f.) T.Yukawa & K.Kita
-
ORCHIDACEAE
กล้วยไม้อิงอาศัย เจริญทางยอด ใบ จำนวน 3-4 ใบ แผ่นใบบาง รูปรี กว้าง 4.5-5 ซม. ยาว 8-10 ซม. ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นคลื่น ช่อดอก ออกที่ซอกใบแบบช่อกระจะ ห้อยลง ยาว 10-15 ซม. จำนวน 7-11 ดอก ดอก บานเต็มที่กว้าง 1.5-2 ซม. สีขาว มีแต้มสีม่วง กลีบเลี้ยงกลางรูปรี กลีบเลี้ยงคู่ข้างรูปไข่เบี้ยว กลีบดอกรูปใบหอก แกมรูไข่ กลีบปากแยกเป็น 3 พู หูกลีบรูปไข่กลับ ตั้งตรงโคนกลีบแผ่เป็นแผ่นยื่นเกือบจรดกัน กลีบปากพูกลางรูปไข่กลับแผ่ออก ปลายกลีบเว้าตื้น มีสันยาวกลางกลีบ เดือยรูปกรวย
Epiphyte, monopodial. Leaves 3 - 4, thin, elliptic, 4.5 - 5 cm wide, 8 - 10 cm long, apex acute, margin undulate. Inflorescence axillary, racemose, pendulous, 10 - 15 cm long, 7 - to 11-flowered. Flowers 1.5 - 2 cm across, white with purplish markings; dorsal sepal subelliptic; lateral sepals obliquely ovate; petals subovate-lanceolate; lip 3-lobed; sidelobes obovate with basal lamella, erect, midlobe obovate, spreading, apex emarginate, with longitudinal ridge from base to middle; spur conical.
พบการกระจายพันธุ์ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ตามป่าดิบเขตร้อนและป่าดิบแล้ง ที่ระดับความสูง 0-700 เมตร จากระดับน้ำทะเล ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน. การกระจายพันธุ์: เนปาล อินเดียว ศรีลังกา จีนตอนใต้และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Widely distributed throughout Thailand in tropical evergreen forest and dry evergreen forest; 0 - 700 m alt. Flowering in March - April. Distribution: Nepal, India, Sri Lanka, South China and Southeast Asia.
-
-

องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2564). กล้วยไม้ไทย เทิดไท้พระบรมราชชนนีพันปีหลวง. บริษัท เชียงใหม่ ดอคคิวเมนทารี ดีไซน์ จำกัด, เชียงใหม่. 320 หน้า.

-

แสดงความเห็นและอภิปราย/discuss

   

Your E-mail:

Your Name: