เผยแพร่เมื่อ/created date: 9 Dec 2021

เอื้องนิ่มดอย

Pinalia spicata (D.Don) S.C.Chen & J.J.Wood
Octomeria spicata D.Don; Eria spicata (D.Don) Hand.-Mazz.; Pinalia alba Buch.-Ham. ex Lindl.; Eria convallarioides Lindl.; Octomeria convallarioides Wall. ex Lindl.; Eria salwinensis Hand.-Mazz.; Pinalia salwinensis (Hand.-Mazz.) Ormerod
-
ORCHIDACEAE
กล้วยไม้อิงอาศัย เจริญแบบแตกกอ ลำลูกกล้วยรูปกระสวยแกมรูปทรงกระบอก ใบ จำนวน 2-4 ใบ แผ่นใบรูปไข่กลับถึงรูปใบหอก กว้าง 5-8 ซม. ยาว 20-28 ซม. ปลายใบแหลม ช่อดอก จำนวน 1-3 ช่อ ออกใกล้ปลายลำลูกกล้วย แบบช่อกระจะแน่น ดอกย่อยจำนวนมาก ดอก บานเต็มที่กว้างประมาณ 3 มม. สีขาวครีม มีแต้มสีเหลืองปลายกลีบปาก กลีบเลี้ยงกลางรูปรี กลีบเลี้ยงคู่ข้างรูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่กลีบดอกรูปรี กลีบปากรูปข้าวหลามตัดแยกเป็น 3 พู หูกลีบปากรูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่ กลีบปากพูกลางรูปสามเหลี่ยม
Epiphyte, sympodial; pseudobulbs cylindric- fusiform. Leaves 2 - 4, obovate to lanceolate, 5 - 8 cm wide, 20 - 28 cm long, apex acute. Inflorescence 1 - 3, arising from sub-terminal of pseudobulb, densely racemose, many-flowered. Flowers ca. 3 mm across, creamy-white with yellow on epichile of lip; dorsal sepal elliptic, lateral sepals ovate- triangular; petals elliptic; lip subrhombic, 3-lobed; sidelobes ovate-triangular, midlobe deltoid.
พบตามป่าฝนเขตร้อนและป่าดิบเขาทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ระดับความสูง 300-2,100 เมตร จากระดับน้ำทะเล ออกดอกช่วงเดือนกันยายน. การกระจายพันธุ์: เนปาล เมียนมา จีนตอนใต้ และภูมิภาคอินโดจีน
Tropical evergreen forest and hill evergreen forest in Northern and Northeastern Thailand; 300 - 2,100 m alt. Flowering in September. Distribution: Nepal, Myanmar, South China, Laos and Indochina.
-
-

องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2564). กล้วยไม้ไทย เทิดไท้พระบรมราชชนนีพันปีหลวง. บริษัท เชียงใหม่ ดอคคิวเมนทารี ดีไซน์ จำกัด, เชียงใหม่. 320 หน้า.

-

ผลลัพธ์เพิ่มเติม/Additional Results

NO. Scientific name Local name Family
1 Pinalia spicata (D.Don) S.C.Chen & J.J.Wood ORCHIDACEAE

แสดงความเห็นและอภิปราย/discuss

   

Your E-mail:

Your Name: