เผยแพร่เมื่อ/created date: 9 Jul 2023

ก่อแพะ

Quercus kerrii Craib
ก่อแพะ, ก่อตาหมู, ก่อตาควาย, ก่อดำ (เหนือ), เต็งตลับ (ราชบุรี), ก่อขี้หมู (ตะวันออกเฉียงเหนือ), ก่อควยลอก (เชียงราย), ซี้จะคั่ง, เซเด๊าะ, เต็งตลับ, Box oak
FAGACEAE
บรรยายลักษณะ ต้น: ไม้ต้นผลัดใบขนาดกลาง ความสูง 10-18 เมตร ใบ: ใบเดี่ยว เรียงตัวแบบเวียนสลับ ใบรูปขอบขนานแกมรูปรี ใบกว้าง 2.5-5 เซนติเมตร ยาว 10-17 เซนติเมตร ฐานใบแหลมหรือทู่ ปลายใบแหลม ขอบใบจักฟันเลื่อย ใบอ่อนทั้งหลังใบและท้องใบ มีเยื่อบางๆสีน้ำตาลปกคลุม ใบอ่อนที่แตกใหม่จะมีสีน้ำตาลอมม่วง ใบแก่เกลี้ยง ผลัดใบเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ดอก เป็นช่อดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ช่อดอกเพศผู้เป็นแบบหางกระรอก ช่อดอกห้อยลง แตกตามง่ามใบหรือปลายกิ่ง สีเหลือง ดอกเพศเมียเป็นช่อดอกแบบเชิงลด ไม่มีก้าน ดอกย่อยช่อละ 3-4 ดอก สีน้ำตาลอมเขียว ตั้งตรง ดอกเพศเมียประกอบด้วยวงกลีบรวม รูปตลับแบนๆ ไม่มีกลีบดอก ออกดอกระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ผล ผลแบบเปลือกแข็งเมล็ดเดียว แบบ nut (เมื่อติดกับฐานรองรูปถ้วยเรียกว่า acorn) ผลกลมแบนเป็นรูปตลับ เปลือกผลเจริญมาจากส่วนของกาบรองดอก จะหุ้มผลครึ่งหนึ่งของผลเป็นรูปถ้วยแบนๆ เรียกว่า cupule มีขนสีน้ำตาลปกคลุม 1 cupule มี 1 ผล แต่ละข่อผลจะมี 3-4 ผล ผลแก่ช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม เปลือก เปลือกนอกสีเทาเงิน แตกเป็นรอยไถหรือแตกแบบสี่เหลี่ยม เปลือกแข็งมาก เปลือกในสีน้ำตาลแดงหรือสีเลือดหมู
พบทั่วไปในป่าเต็งรัง ป่าดิบเขา
ที่อยู่อาศัย,เครื่องจักสานและเครื่องใช้สอย
-
-

แสดงความเห็นและอภิปราย/discuss

   

Your E-mail:

Your Name: