เผยแพร่เมื่อ/created date: 8 Apr 2013

เต็งหนาม

Bridelia retusa (L.) A. Juss.
รังโทน เปาหนาม ฮังหนาม
EUPHORBIACEAE
ไม้ต้น สูงได้ถึง 10 เมตร ลำต้นค่อนข้างมีหนาม ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปรี กว้าง 3-11 ซม. ยาว 6-25 ซม. โคนใบกลมมน ปลายใบมนหรือแหลม ขอบใบเรียบหรือหยักมนตื้นๆ หลังใบเกลี้ยง ท้องใบมีขนสั้น ดอก ออกเป็นช่อกระจุกตามกิ่งที่ไม่มีใบ สีเขียวอมเหลืองถึงน้ำตาล กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปสามเหลี่ยมยาว 1.7-2 มม. กลีบดอก 5 กลีบ โคนเป็นรูปช้อน ปลายกลม เกสรเพศผู้ 5 อันยอดเกสรเพศเมียจักเป็น 2 แฉก ผล ค่อนข้างกลม สีดำหรือน้ำเงินอมดำ ยาว5-8 มม. เมล็ด ค่อนข้างกลม สีน้ำตาลแดง ยาว 4-5 มม.
พบกระจายตั้งแต่อินเดีย ศรีลังกา จีนตอนใต้ เมียนม่าห์ อินโดจีน จนถึงอินโดนีเซีย ในประเทศไทย พบทุกภาค ตามป่าผลัดใบ และป่าดิบแล้ง ที่ระดับความสูง 50-600 เมตร
เปลือกต้น ให้ยางสีแดง ผสมกับน้ำมันงา ทาถูแก้ปวดข้อน้ำต้มเปลือก เป็นยาฝาดสมาน กินเพื่อสลายนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ผล รับ

หนังสือไม้ต้นในสวนพฤกษศาสตร์

-

4505 views

แสดงความเห็นและอภิปราย/discuss

   

Your E-mail:

Your Name: