เผยแพร่เมื่อ/created date: 8 Nov 2015

กันภัยมหิดล

Afgekia mahidolae Burtt et Chermsirivathana
กัยภัย
FABACEAE (LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE)
ไม้เถา ขนาดกลาง มีขนประปรายทั่วต้น ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกสลับ มีใบย่อย 7-11 ใบ รูปไข่หรือรูปไข่กลับ กว้าง 1.5-3.5 ซม. โคนใบมน ปลายแหลมและมักมีติ่งสั้น ดอกสีม่วง ออกเป็นช่อใหญ่ที่ปลายกิ่ง ก้านช่อดอกยาว 10-50 ซมง โคนก้านดอกมีริ้วประดับ รูปขอบขนาน ปลายแหลม บิดเวียน สีม่วง หลุดร่วงง่าย ดอกรูปดอกถั่ว ยาว 2-3 ซม. โคนกลีบรองดอกซ้อนกัน มีขนนุ่ม กลีบดอก 5 กลีบ กลีบตั้งด้านในมีสีม่วงแดง ที่โคนกลีบมีแถบสีเหลือง เกสรผู้ 10 อัน โคนเชื่อมกัน 9 อัน ผลเป็นฝักแบน กว้าง 2.5-3.5 ซม. ยาว 6-9.5 ซม. เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดค่อนข้างกลม ขนาดผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 ซม.
มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย เป็นพรรณไม้หายาก ขึ้นตามป่าเต็งรัง และภูเขาหินปูน ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศไทย นำมาปลูกได้ทั่วไป ออกดอกเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ปลูกเป็นไม้ประดับได้ดี
-

หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 2

-

5715 views

แสดงความเห็นและอภิปราย/discuss

   

Your E-mail:

Your Name: