Share






ชื่อวิทยาศาสตร์

Scientific name

Gmelina arborea Roxb.
ชื่อวงศ์

Family name

LAMIACEAE
ชื่อพื้นเมือง

Local name

ซ้อ So, เฝิง Foeng (Northern); กำม่าทุ Kam-ma-thu (Karen-Kanchanaburi, Kamphaeng Phet); แก้มอ้น Kaem on (Nakhon Ratchasima); ช้องแมว Chong maeo (Chumphon); เซาะแมว So-maeo (Malay-Narathiwat); แต้งขาว Taeng khao (Chiang Mai); ท้องแมว Thong maeo (Ratchaburi, Suphan Buri); เป้านก Pao nok (Uttaradit); ม้าเหล็ก Ma-lek (Lawa-Kanchanaburi); เมา Mao (Surat Thani); แม่ะ Mae (Karen-Mae Hong Son); ร่มม้า Rom ma, รำม้า Ram ma (Karen-Kanchanaburi); สันปลาช่อน San pla chon (Sukhothai)
ชื่อสามัญ

Common name

Beechwood, Goomar teak, Kashmir tree, Malay beechwood, White teak
ส่วนที่นำมาใช้

Plant part used

(Sb) Stem bark
การใช้ประโยชน์

Uses and Ultilizing

ราก และลำต้น ตำทาแก้คัน เปลือกต้นด้านใน ขูดเป็นผงรักษาน้ำกัดเท้า (2)
ข้อควรระวัง

Caution

-
ฤดูติดดอก ออกผล

Flowering & Fruiting Season

ออกดอกเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ติดผลเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม
ลักษณะ

Habit

ไม้ต้น สูง 5-10 เมตร ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปไข่กว้างหรือรูปหัวใจ กว้าง 11-15 ซม. ยาว 12-16 ซม. ขอบใบเรียบหรือหยักตื้น แผ่นใบมีขนรูปดาวทั้งสองด้าน ช่อดอกแบบช่อแยกแขนงที่ปลายกิ่ง ยาว 7-10 ซม. กลีบเลี้ยงเชื่อมกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยก กลีบดอกโคนเชื่อมกัน ปลายแยกเป็น 5 กลีบ รูปปากเปิด กลีบบนมี 2 กลีบ รูปไข่กลับ ผิวด้านนอกและผิวด้านในมีต่อมขน กลีบล่างมี 3 กลีบ รูปไข่ ขอบเป็นคลื่น ผิวด้านนอกขนสั้นนุ่ม ผิวด้านในเกลี้ยง เกสรเพศผู้ 4 อัน ติดกับหลอดกลีบดอก รังไข่เกลี้ยง ผลกลมหรือรูปไข่กลับ สีเขียวอมเหลือง ผิวเกลี้ยง เป็นมันเล็กน้อย
พื้นที่ที่พบในสวนฯ

Display area (QSBG)

การกระจายพันธุ์

Distribution

พบบริเวณเชิงเขาหินปูน ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 500-700 เมตร
หมายเหตุ

Remark

-
เอกสารอ้างอิง

Reference(s)

(2) วิทยา ปองอมรกุล และนัทธี เมืองเย็น. 2555. รายงานโครงการพฤกษศาสตร์พื้นบ้านภาคเหนือตอนบน., มณฑล นอแสงศรี และนุชจรี ตะทะนะ. 2555. พรรณไม้ดอยนางนอน.
QR code