Share






ชื่อวิทยาศาสตร์

Scientific name

Ficus auriculata Lour.
ชื่อวงศ์

Family name

MORACEAE
ชื่อพื้นเมือง

Local name

เดื่อหว้า duea wa (Chiang Mai) เดื่อหลวง duea luang (Northern) ตะกื้อเด๊าะ ta-kue-do (Karen-Mae Hong Son) ไทรโพ sai pho (Central) มะเดื่อชุมพร ma duea chumphon (Yala) มะเดื่อหว้า ma duea wa (Kanchanaburi) ฮากอบาเต๊าะ ha-ko-ba-do (Malay-Narathiwat)
ชื่อสามัญ

Common name

-
ส่วนที่นำมาใช้

Plant part used

-
การใช้ประโยชน์

Uses and Ultilizing

ยาง สดผสมน้ำกินสดแก้ท้องร่วง (2) ใบ ประกอบอาหาร ผล รับประทานสดจิ้มน้ำพริก (4)
ข้อควรระวัง

Caution

-
ฤดูติดดอก ออกผล

Flowering & Fruiting Season

ออกดอกและติดผลเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมีนาคม
ลักษณะ

Habit

ไม้ต้น สูง 10-15 เมตร ใบเดี่ยว ออกสลับวนรอบกิ่ง กว้าง 10.5-15 ซม. ยาว 18-20 ซม. ฐานใบมน ขอบใบหยักฟันเลื่อยห่างๆ ปลายใบแหลม เนื้อใบเหนียวหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 3-7 ซม. ผิวเกลี้ยง ดอกแยกเพศแยกต้น ต้นเพศผู้ ประกอบด้วยดอกเพศผู้ที่เกิดรอบปากช่องเปิด เกสรเพศผู้ 2 อัน ต้นเพศเมีย มีเพียงดอกเพศเมีย ผลรูปลูกแพร์ เกิดเป็นกระจุกตามลำต้นหรือกิ่งใหญ่ ผิวเกลี้ยง หรืออาจมีขนสั้นนุ่มปกคลุม มักมีสันตามยาวและมีรอยแผลใบประดับข้างเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4.5 ซม. ผลสุกสีส้มแกมแดง ก้านผล ยาวประมาณ 5 ซม.
พื้นที่ที่พบในสวนฯ

Display area (QSBG)

การกระจายพันธุ์

Distribution

พบบริเวณริมลำธาร ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 450-700 เมตร
หมายเหตุ

Remark

-
เอกสารอ้างอิง

Reference(s)

(2) วิทยา ปองอมรกุล และนัทธี เมืองเย็น. 2555. รายงานโครงการพฤกษศาสตร์พื้นบ้านภาคเหนือตอนบน., มณฑล นอแสงศรี และนุชจรี ตะทะนะ. 2555. พรรณไม้ดอยนางนอน.
QR code