Share
ชื่อวิทยาศาสตร์

Scientific name

Tacca chantrieri André
ชื่อวงศ์

Family name

DIOSCOREACEAE
ชื่อพื้นเมือง

Local name

เนระพูสีไทย (nera phusi thai) คลุ้มเลีย (khlum lia) ดีงูหว้า (di ngu wa) ดีปลาช่อน (di pla chon) นิลพูสี (ninla phusi) มังกรดำ (mamgkon dam) ม้าถอนหลัก (ma thon lak) ว่านค้างคาวดำ (wan khang khao dam) ว่านพังพอน (wan phang phon) ว่านหัวฬา (wan hua la)
ชื่อสามัญ

Common name

Bat flower, Cat's whiskers
ส่วนที่นำมาใช้

Plant part used

-
การใช้ประโยชน์

Uses and Ultilizing

ราก ต้มดื่มเป็นยาแก้ไอ แก้ปวดหลัง ใบ ต้มกินแก้โรคกระเพาะ (2)
ข้อควรระวัง

Caution

-
ฤดูติดดอก ออกผล

Flowering & Fruiting Season

ออกดอกและติดผลเกือบตลอดปี
ลักษณะ

Habit

ไม้ล้มลุก อายุหลายปี มีเหง้าใต้ดิน ใบเดี่ยว รูปขอบขนานหรือรูปใบหอก กว้าง 6-20 ซม. ยาว 25-60 ซม. โคนใบแหลม ปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งแหลม ก้านใบ ยาว 15-30 ซม. รวมกาบใบ ช่อดอก มี 1-3 ช่อ ยาวได้ถึง 70 ซม. กลีบประดับ มี 2 คู่ สีเขียวขาว หรือม่วงน้ำตาล คู่นอกรูปไข่หรือรูปใบหอก ยาวประมาณ 6 ซม. คู่ในรูปไข่หรือรูปไข่กลับ ยาว 7-14 ซม. กลีบประดับรูปเส้นด้าย มี 5-25 อัน ยาว 10-25 ซม. กลีบรวมติดเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 6 กลีบ เรียง 2 วง สีม่วงน้ำตาล รูปใบหอก ยาว 0.5-1.2 ซม. ก้านดอกยาว 2-3.5 ซม. ผล รูปขอบขนานสามเหลี่ยมเป็นสันกลาง สีน้ำตาลอมม่วง
พื้นที่ที่พบในสวนฯ

Display area (QSBG)

การกระจายพันธุ์

Distribution

พบบริเวณริมลำธารระหว่างเขาหินปูนที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 600-900 เมตร
หมายเหตุ

Remark

-
เอกสารอ้างอิง

Reference(s)

(2) วิทยา ปองอมรกุล และนัทธี เมืองเย็น. 2555. รายงานโครงการพฤกษศาสตร์พื้นบ้านภาคเหนือตอนบน., มณฑล นอแสงศรี และนุชจรี ตะทะนะ. 2555. พรรณไม้ดอยนางนอน.
QR code